วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

17:16

จริงๆแล้วหากจะเริ่มต้นกับอาชีพเกษตรกร ไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับลูกชาวนาอย่างเรา แต่สิ่งที่ภาพที่เราเห็นหลังจากตัดสินใจ "กลับบ้าน" คือความเปลี่ยนไปของรูปแบบการทำเกษตร พึ่งพาเครื่องจักร และสารเคมีมากขึ้น รูปแบบการทำเกษตรแบบเดิมๆ หายไปโดยสิ้นเชิง

มันจะเริ่มยากก็ตรงนี้ค่ะ ตรงที่การจะทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของคนรุ่นพ่อแม่ ว่าสิ่งที่เค้าทำอยู่มันผิดทางนะ การอธิบายไม่เกิดประโยชน์ค่ะ มันจะกลายเป็นการโต้เถียงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วิธีการเริ่มต้นก็คือ การหาองค์ความรู้จากภายนอก จากผู้รู้และปราชญ์ชาวบ้านที่ท่านประสบผลสำเร็จ และลงมือทำให้เห็น นั้นจะเป็นการยืนยันสิ่งที่เราคิดได้ดีที่สุด เราเลือกที่จะไปที่ศูนยกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องของ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นลูกศิษย์รุ่นที่ 397 และแนวทางที่ท่านได้ถ่ายทอดมาคือแนวทางการทำเกษตรแบบยั่งยืน การบริหารจัดการน้ำและป่า

"หากเราเชื่อมั่นว่า โมเดลที่เหมาะสำหรับต้นน้ำ คือ การปลูกป่า สร้างฝายชุ่มชื้น ทำป่าเปียก ปลูกแฝก โมเดลที่เหมาะกับพื้นที่ราบลุ่มต่ำลงมาก็คือ โมเดลวิถีบ้าน บ้าน “โคก หนอง นา” เพราะด้วยการอยู่กับที่ราบลุ่มที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ด้วยวิถีชีวิตที่มีโคก มีนา มีหนองนั้น ทำให้บรรพบุรุษของเราอยู่รอดได้มาจนถึงวันนี้ เพราะเมื่อย่างเข้าฤดูน้ำหลากบนโคกก็จะเป็นที่สำหรับทำกิน มีต้นไม้ที่ปลูกไว้ เป็นที่หลบน้ำของสัตว์ คน และเป็นที่เก็บอาหารด้วยยุ้งฉางของคนในสมัยก่อน

เรียนรู้แนวทางการสร้าง “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน และยังเป็นวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อน

โมเดล โคก-หนอง-นา จึงเป็นโมเดลที่เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ใช้เป็นต้นแบบตั้งต้นโครงการฟื้นฟูชุมชนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ส่วนตอนบนที่เป็นเขาก็จะรณรงค์การทำฝายเพื่อจะเก็บซับน้ำไว้บนเขาให้ได้มากที่สุด จากสองโมเดลนี้ลองคิดง่ายๆ จากปริมาณน้ำที่หลากมาในปีนี้ 25,000 ล้าน ลบ.ม. หากน้ำที่โปรยลงเขาได้ถูกซับไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยการทำฝายชะลอน้ำให้ซึมซับลงสู่ดินบ้านละ 10,000 ลบ.ม. หากทำทุกบ้าน ล้านครอบครัว น้ำก็จะถูกเก็บไว้บนเขาไปแล้ว 10,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่น้ำที่ไหลบ่าลงจากป่าเขาลงมาในพื้นราบก็รณรงค์ให้พี่น้อง ชาวไร่ ชาวนา ขุดแหล่งน้ำเอาที่ดินมาทำเป็นโคกตามโมเดล “โคก-หนอง-นา” ทำเช่นนี้ไว้อีกล้านครอบครัว เก็บน้ำไว้บ้านละ 10,000 ลบ.ม. ต่อครอบครัว ก็ได้แล้วอีก ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำฝนที่ตกลงมา 25,000 ล้านลบ.ม. ก็ถูกเก็บไว้บนเขาเสีย 10,000 ล้าน ลบ.ม. ลงมาข้างล่างทุกบ้านช่วยกันเก็บไว้อีกหนึ่งหมื่นล้าน พอไหลลงมาจริงๆ เหลือเพียง 5,000 ล้าน ลบ.ม. ถ้าในระดับนี้เมืองต่างๆ ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงสมุทรปราการยังไงก็ไม่ท่วม แล้วถ้าพื้นที่ตอนล่างเปิดช่องทางช่วยกันให้น้ำหลากลงไปในท้องนา ลงไปในพื้นที่ทางน้ำหลาก ในร่องสวน ในนา ซึ่งได้เตรียมการรองรับไว้ดีแล้ว ด้วยวิธีการทำนาที่เข้าใจธรรมชาติ ปลูกข้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ค่อยๆ ปล่อยให้น้ำไหลลงไปข้าวก็จะไม่ตาย

อันที่จริงแล้ว โมเดลที่เวิร์ค ที่ทำงานได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่ คิดใหม่ ของนอก หากแต่เป็นโมเดลที่อยู่กับเรามานานแล้ว หากแต่เราหลงลืมไป อย่างวิถีชีวิต โคก หนอง นา เช่นนี้"

VDO ที่เกี่ยวข้อง




อ.ยักษ์ มหาลัยคอกหมู
ที่มาภาพ : อินเทอร์เน็ต
บทความใหม่กว่า
Previous
This is the last post.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น